เด็กไฮเปอร์กับสมาธิสั้น ต่างกันอย่างไร

เด็กไฮเปอร์กับสมาธิสั้น แตกต่างกันอย่างไร?



เด็กไฮเปอร์ เกิดจากอะไร?

ไฮเปอร์นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ เกิดจากสมาธิสั้น, เกิดจากการที่เด็กมีไอคิวสูง, เกิดจากพัฒนาการทางระบบประสาทล่าช้า, เกิดจากการที่เคยได้รับความกระทบกระเทือน หรือติดเชื้อของสมอง และเกิดจากไฮเปอร์โดยธรรมชาติ


เด็กสมาธิสั้น เกิดจากอะไร?

อาการสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ว่าอะไรทำให้สมองมีความผิดปกติ แต่จากวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งมีส่วนในการถ่ายทอด และส่งผลต่อสมอง ทำให้สมองบางส่วนบกพร่อง โดยเฉพาะส่วนของสมาธิ เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กัน และอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

อาการของโรคสมาธิสั้นนั้นมีเพียงไม่กี่อาการเท่านั้น โดยเราจะสามารถสังเหตุอาการไม่น้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งสังเกตอาการของโรคสมาธิสั้นได้ดังต่อไปนี้นี้

1.เป็นเด็กขี้ลืม เพราะความจำระยะสั้นไม่ดี วอกแวกง่าย อยู่กับอะไรได้ไม่นาน ยกเว้นเกม ทีวี คอมพิวเตอร์

2.มีอาการเหม่อลอย จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ ซึ่งพบได้ในเด็กโต

3.อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา ใจร้อน และมีอารมณ์รุนแรง


 การรักษา เด็กไฮเปอร์ และสมาธิสั้น มีดังนี้

1.ฝึกปรับพฤติกรรม และกระตุ้นพัฒนาการ (เหมาะสำหรับเด็กที่มีอาการไม่มาก และยอมอยู่นิ่งๆ ให้ฝึก)
จัดบ้านให้สงบ เช่น ไม่ตะโกนใส่ลูก เมื่อลูกไม่เชื่อฟัง หรือไม่ยอมนั่งทำการบ้านดีๆ อดทนอดกลั้นกับพฤติกรรมของลูก
จำกัดสื่อทุกชนิดภายในบ้าน ตัดเสียงรบกวนขณะที่กำลังใช้ความคิด เช่น ปิดทีวี หรือสิ่งกวนใจขณะทำการบ้าน
พาลูกไปตรวจการได้ยิน และตรวจสายตา ถ้าลูกเริ่มมีปัญหาเรื่องการเรียน เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด
คุณพ่อคุณแม่อย่าทะเลาะ หรือโต้เถียงกันเรื่องลูกโดยให้ลูกเห็น เพราะจะทำให้เขาเครียด เป็นสาเหตุของการกระตุ้นอาการให้รุนแรงขึ้น
ใช้เวลาคุณภาพกับลูกทุกวัน แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือด้วยกัน เล่นเกมกระดานด้วยกัน เป็นต้น
มีกฎระเบียบที่แน่นอน คงเส้นคงวา คุณพ่อ คุณแม่ตกลงไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน
ให้ลูกเล่นกีฬา เพื่อใช้พลังที่มีไม่จำกัดของเด็กกลุ่มนี้ ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ฟุตบอล หรือแบตมินตัน

2.การกินยา ซึ่งจะได้ผลประมาณ 70-80% ส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 1-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของยา แต่อาการเหล่านี้มักจะไม่หายขาด

3.ช่วยเหลือเด็กเรื่องการเรียน ในกรณีที่เด็กมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ หรือมีพัฒนาการทางระบบประสาทช้า เรียนไม่ทันเพื่อน ด้วยการสอนแบบตัวต่อตัวจะช่วยเด็กได้

4.ดูแล และทำความเข้าใจ เลี้ยงดูลูกน้อยอย่างเข้าใจ ให้เวลากับพวกเขามากขึ้น เด็กที่มีสมาธิสั้นต้องการการดูแลที่มากกว่าคนทั่่วไป และยิ่งพยายามดูแลพวกเขาตั้งแต่เด็กโรคของพวกเขาอาจจะดีขึ้นกว่ารักษาเมื่อตอนที่เด็กอายุมากแล้ว

5.การรักษาทางเลือก โดยการใช้ออกซิเจนแรงดันสูง ซึ่งพบว่าได้ผลดีโดยไม่ต้องกินยา หรือใช้ยาน้อยลง ใช้เวลาในการรักษาสั้น และเห็นผลไม่เกิน 1-2 เดือนโดยประมาณ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

น้ำในหูไม่เท่ากัน ไม่รีบป้องกัน อาจได้ของแถม

ลูกพัฒนาการช้าอย่างไรเข้าข่าย LD